Title
ชื่อหลัก
จิตรกรรมเรื่องสังคายนาพระไตรปิฎก
Description
ประวัติการสร้าง
วัดมหาพฤฒารามสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา เดิมชื่อวัดท่าเกวียน หรือวัดตะเคียน ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่ เนื่องจากเคยได้เสด็จมาที่วัดนี้เมื่อทรงผนวช ในคราวนั้นพระอธิการแก้วเจ้าอาวาสได้ทูลถวายพยากรณ์ว่าจะได้เป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์จึงมีรับสั่งว่าถ้าได้ครองแผ่นดินจริงจะมาสร้างวัดให้อยู่ใหม่ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์จึงโปรดเกล้าฯให้สถาปนาวัดขึ้นใหม่ โดยโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) เป็นแม่กองในการก่อสร้าง พระราชทานนามว่า "วัดมหาพฤฒาราม"
กระบวนการสร้าง/ผลิต
ภาพเขียนสีฝุ่น
ลักษณะทางศิลปกรรม
จิตรกรรมฝาผนังเขียนเล่าเหตุการณ์การสังคายนาพระไตรปิฎกในพุทธศาสนารวมทั้งสิ้น 9 ครั้ง เริ่มจากผนังด้านขวาของพระประธาน ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในอินเดีย เรียงลำดับไปยังผนังด้านหลังซึ่งเป็นเหตุการณ์ในลังกา และผนังด้านซ้ายซึ่งเป็นเหตุการณ์ในล้านนาและในสมัยรัชกาลที่ 1 ผนังเบื้องหน้าพระประธานเขียนภาพตู้พระไตรปิฎก 3 ตู้ ซึ่งน่าจะหมายถึงพระไตรปิฎกที่ได้รับการสังคายนาแล้ว ได้แก่ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก ภายในตู้บรรจุพระคัมภีร์ห่อด้วยผ้ายกปิดทอง มีภาพผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ สังเกตได้จากการแต่งกายที่แตกต่างกันกำลังกราบไหว้บูชาตู้พระธรรมเหล่านั้น
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ
จิตรกรรมฝาผนังถ่ายทอดเรื่องราวการสังคายนาพระไตรปิฎก จำนวน 9 ครั้งตามเนื้อหาในสังคีติยวงศ์ นับตั้งแต่ในอินเดีย ลังกา ล้านนาและสยาม ฉากหนึ่งที่สำคัญคือการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 9 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อพ.ศ.2331 พิธีสังคายนาพระไตรปิฎกจัดขึ้นที่วัดพระศรีสรรเพชญ(วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์) เมื่อเสร็จพิธีแล้วได้มีกระบวนพยุหยาตราแห่อัญเชิญพระไตรปิฎกมาประดิษฐานที่หอไตรในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง เรียกพระไตรปิฎกฉบับนี้ว่า พระไตรปิฎกฉบับทอง แม้ว่าจิตรกรรมฝาผนังยังคงถ่ายทอดเรื่องราวในพุทธศาสนา แต่ได้ปรับเปลี่ยนจากเรื่องพุทธประวัติมาเป็นเนื้อหาแนวใหม่ที่อิงความสมจริงตามประวัติศาสตร์ การให้ความสำคัญกับความสมจริง และเทคนิควิธีแบบตะวันตก ทำให้เกิดภาพวัดมหาธาตุฯ เป็นฉากใหญ่และมีภาพวัดพระศรีรัตนศาสดารามอยู่ถัดไปทางด้านซ้าย โดยด้านหน้ากำแพงวัดมีกระบวนพยุหยาตราอัญเชิญพระไตรปิฎกและเครื่องสูงประกอบเกียรติยศ ภาพเหตุการณ์ดังกล่าวพยายามเขียนตามหลักทัศนียวิทยา แม้จะยังไม่เคร่งครัดนักแต่ก็เป็นความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญของงานจิตรกรรมไทย
ตำนานที่เกี่ยวข้อง
ตำนานการสังคายนาพระไตรปิฎก
Classifications
ประเภทงานศิลปะ
จิตรกรรม
ศาสนา
พุทธ
ลัทธินิกาย
เถรวาท
People
ผู้จัดทำข้อมูล
พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์
Location
ชื่อสถานที่
จิตรกรรมเรื่องสังคายนาพระไตรปิฎก
ประเทศ
Thailand
ภาค
ภาคกลาง
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
อำเภอ
เขตบางรัก
ตำบล
มหาพฤฒาราม
ละติจูด
13.732559
ลองติจูด
100.516446
Time
อายุ
พุทธศตวรรษที่ 25
สมัย/รูปแบบศิลปะ
รัตนโกสินทร์